เปิดแนวรบ ‘แน็พไบโอเทค’ ปั้น ‘กระท่อม’ บุกตลาดโลก

“แน็พ ไบโอเทค” ชูนวัตกรรมสกัดสารจากพืชสมุนไพรไทย เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เกษตรกร ส่ง “กระท่อม” บุกตลาดต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 250 ล้านบาทต่อปี พร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์ใน 3 ปี

นายธเนศน์ มนต์สา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แน็พ ไบโอเทค จำกัด เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรไทย จากเดิมมีบริษัทคล้ายเทรดเดอร์รับซื้อวัตถุดิบสมุนไพรจากเกษตรให้กับองค์การเภสัชกรรมบริษัทต่างในประเทศ และส่งออกไปยังอินเดีย เช่น ขมิ้น กระชายดำ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำเข้าสารสกัดเพื่อนำไปทำเป็นอาหารเสริมและยาให้กับบริษัทต่างๆ ซึ่งโรงงานสกัดสารจากจากพืชสมุนไพรในประเทศไทยมีอยู่น้อยมาก จึงเป็นที่มาของการตั้งโรงงานในปี 2561 เพื่อสกัดสารจากพืชสมุนไพรทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าผลผลิตเพิ่มให้กับเกษตรกร

โดยดำเนินธุรกิจทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C ผลิตสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยในสัดส่วน กระท่อม 25% การสกัดโปรตีนมะพร้าว 25% ไพล (พืชลงหัวมีเหง้าใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอม) 10% และเถาวัลย์เปรียง 10% ที่เหลือเป็นขมิ้น กระชายดำ กระเจี๊ยบ ฯลฯ ส่งให้กับบริษัทผู้ประกอบการที่ต้องการนำสารสกัด ดังกล่าวไปพัฒนาเป็นยา อาหาร อาหารเสริม หรืออื่นๆ และส่งให้มหาวิทยาลัยนำไปทำงานวิจัยให้ผู้ประกอบการอีกทาง อาจเรียกได้ว่าทำ OEM อยู่ประมาณ 70% อีก 30% คือสกัดเป็นสารสำเร็จรูปในแบรนด์ตัวเองส่งไป และตอนนี้มีกระท่อมเป็นพืชหลักที่กำลังพัฒนาอยู่

ทั้งนี้ “กระท่อม” เป็นพืชสมุนไพรที่ แน็พ ไบโอเทคสนใจศึกษาและทำวิจัยมาตั้งแต่ปี 2363 เพราะสามารถปลูกได้เฉพาะถิ่นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยประเทศไทยมีสายพันธุ์ที่สามารถปลูกได้คุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นแมงดาหางกั้ง ก้านแดง ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ก็ระบุไว้ว่ากระท่อมเป็นพืชตระกูลกาแฟ มีสัดส่วนเป็นยาเสพติดน้อยกว่ากัญชามาก

อีกทั้งยังมีตลาดใหญ่รองรับผลผลิตในอเมริกาเฉลี่ย 1,940 ตันต่อเดือน กรมธุรกิจการค้าประเมินมูลค่าการนำเข้าของอเมริกาไว้ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่ผู้ค้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

กว่า 95% มาจากอินโดนีเซีย ในขณะที่ไทยและมาเลเซียถูกกฎหมายควบคุมไว้ และไทยเพิ่งปลดล็อกพืชนิดนี้ออกจากการเป็นยาเสพติดเมื่อปี 2564 ก่อนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

จากข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐระบุไว้ว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกกระท่อมอยู่ประมาณ 3.4 หมื่นไร่ รวมจำนวนหลายล้านต้น ฉะนั้น แน็พ ไบโอเทคจึงได้นำวิจัยที่ได้ทำไว้ รวมทั้งศึกษาวิจัยจากต่างประเทศมาดำเนินการในโรงงาน และพัฒนาการสกัดสารมาตั้งแต่กฎหมายปลดล็อกมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าต่างชาติจากฝั่งยุโรปสนใจนำสารสกัดของกระท่อมไปทำยาผสมในอาหาร บางรายก็อยากได้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

“เรามีผลิตภัณฑ์และสารสกัดจากกระท่อมที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 11 ตำหรับ มากที่สุดในประเทศไทยและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ จากทั้งในและต่างประเทศ ด้วยสัดส่วน 50% เท่ากัน สามารถลดการนำเข้าสารสกัดได้เป็นจำนวนมาก และ แน็พ ไบโอเทค กำลังพัฒนาตัวเองก้าวไปสู่ตลาดอเมริกา ในขณะที่ประเทศไทยยังควบคุมปริมาณการใช้ไว้อยู่ในระดับหนึ่ง”

นายธเนศน์ กล่าวว่า ในตลาดทั้งประเทศไทยและต่างประเทศถือว่าแข่งขันกันสูงแต่ก็เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในประเทศไทยก็มีโรงงานสารสกัดพืชหลายชนิด แต่โดยคุณภาพแน็พ ไบโอเทค ถือว่าสู้ได้ และตั้งเป้าไว้อยากเข้าภายใน 3 ปีนับจากนี้ประมาณปี 2570 แม้ 3-4 ปีที่ผ่านมาจะขาดทุนตลอดเพราะต้องตั้งโรงงานและลงทุนไปกับเตรียมความพร้อมหลายด้าน

แต่ปีนี้เริ่มมีรายได้เติบโตขึ้น โดยจุดแข็งของแน็พ ไบโอเทค คือมีความพร้อมการสกัดพืชสมุนไพรได้ทุกรูปแบบด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมมุ่งไปที่สารสกัดจากธรรมชาติมากกว่าสารเคมีสังเคราะห์ “ปีนี้เป็นปีพลิกผันของ แน็พ ไบโอเทค ที่สร้างรายได้หลังจากเราทุ่มลงทุนไปราว 100 ล้านบาทและเพิ่มงบการตลาดค่อนข้างสูง ซึ่งอัตราการเติบโตน่าจะอยู่ที่ 250 ล้านบาทต่อปี เฉพาะสารสกัดจากกระท่อมก็ยังมีสัญญาซื้อขายกับลูกค้าอีกหลายรายและสามารถเติบโตได้อีกมาก เหลือเพียงแต่กำลังการผลิตจะพอไหม แต่อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยความชัดเจนด้านกฎหมายและโลจิสติกส์จากภาครัฐด้วย ไม่ใช่แค่ไทยแต่รวมถึงการขนส่งของต่างประเทศด้วย และสิ่งสำคัญคือหากทำได้จะสามารถผลักดันเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับเกษตรได้”


บริษัทฯ ขอแสดงความขอบคุณ ฐานเศรษฐกิจ ที่ให้การสนับสนุนและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมของบริษัทฯ

บทความใกล้เคียง

ประชาสัมพันธ์

“แน็พ ไบโอเทค” ชูนวัตกรรมสกัดสารจากพืชสมุนไพรไทย เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เกษตรกร ส่ง “กระท่อม” บุกตลาดต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 250 ล้านบาทต่อปี

ประชาสัมพันธ์

บริษัท แน็พ ไบโอเทค จำกัดร่วมกับ บริษัท เนเจอร์ อโกร โปรดักซ์ จำกัด ออกงานแสดงสินค้าในงานจีน-อาเซียน

ประชาสัมพันธ์

วันที่ 13 กันยายน 2566 บริษัท แน็พ ไบโอเทค จำกัด ร่วมกับ บริษัท