สารสกัด “ดอกดาวเรือง” ละลายง่าย

สารสกัดดอกดาวเรือง

ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นหน้าคุ้นตากันมาอย่างยาวนาน ชื่อภาษาอังกฤษคือ Marigold และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Tagetes erecta L.” สารสำคัญหลักที่อยู่ในดอกดาวเรืองคือ “ลูทีน (Lutein)” ซึ่งเป็นสารอาหารในกลุ่มที่เรียกว่าแซนโทฟิลส์ (Xanthophylls) มีลักษณะเป็นสารสีเหลือง อยู่ในจำพวกแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) มีประโยชน์ต่อดวงตา  ช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือ  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา.บริษัท แน็พ ไบโอเทค จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย สารสกัดจากดอกดาวเรือง ด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ทำให้ สารสกัดจากดอกดาวเรืองนั้นละลายน้ำใส ไม่มีตะกอน สามารถประยุกต์ใช้ในสินค้าได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบบผงชงดื่มเครื่องดื่ม แคปซูล เจลลี่ เม็ดฟู่ ฯ .สนใจติดต่อคุณเจี๊ยบTel : 092-412-8444Email : pariyakorn.wam@napbiotec.io

“Sage” มีเสจอยู่ในสวนแล้ว จะตายได้อย่างไรกัน

"Sage" มีเสจอยู่ในสวนแล้ว จะตายได้อย่างไรกัน

สารสกัดจากใบ “Sage” ลิขสิทธิ์เฉพาะจากประเทศอังกฤษ เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหารเป็นเครื่องเทศ ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม เป็นสารสกัดจากปัญญาชนประเภทใหม่ซึ่งได้รับการยอมรับทางการแพทย์แล้วว่าช่วยส่งเสริมให้สมองและการทำงานของความรับรู้ ความเข้าใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น     ชาวโรมันถือว่าเสจเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และมีการจัดพิธีเก็บเกี่ยวให้ โดยเฉพาะ ในปี 1597 เจราร์ด ยอดนักสมุนไพรชาวอังกฤษเขียนไว้ว่า เสจเป็น ‘หนึ่งเดียว’ ที่ดีต่อศีรษะและสมอง ช่วยให้ว่องไว จำได้ดี กล้ามเนื้อแข็งแรง และบรรเทาอาการสั่น มีภาษิตโบราณกล่าวถึงสรรพคุณของเสจว่า ‘มีเสจอยู่ในสวนแล้ว จะตายได้อย่างไรกัน’ ประโยชน์ของ Sage

“Lemon balm” สมุนไพรคลายกังวล

Lemon balm เลม่อนบาล์ม

Lemon balm     เป็นพืชยืนต้นที่อยู่ในตระกูลเดียวกับมิ้นท์ ใบ Lemon Balm มีกลิ่นเลม่อนอ่อนๆ นำไปทำยาได้ โดยในต่างประเทศ ธุรกิจกลุ่มสปา นิยมใช้น้ำมันหอมระเหยจาก Lemon Balm เพื่อช่วยให้ลูกค้าผ่อนคลาย และได้รับการพักผ่อนอย่างแท้จริง     ในหลาย ๆ ประเทศ นิยมนำเลม่อนบาล์มไปใช้บรรเทาอาการอย่างภาวะวิตกกังวล ปัญหาการนอนหลับ และอยู่ไม่สุข มีการนำสมุนไพรชนิดนี้ไปใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) ติดตามผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดี ๆ ที่มีส่วนประกอบของ Lemon Balm ได้ที่นี่ที่เดียว

“Chamomile” “หลับง่าย คลายกังวล ด้วยธรรมชาติบำบัด”

Chamomile ดอกคาโมมายล์

ดอกคาโมมายล์ใช้เป็นสมุนไพรมานานนับพันปี ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ กรีกและโรมัน เป็นสมุนไพรที่นิยมมากในทวีปยุโรป โดยมีสรรพคุณมากมายได้แก่ ทำให้สงบ คลายกังกล ช่วยให้หลับ ติดตามผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดี ๆ ที่มีส่วนประกอบของ Chamomile ได้ที่นี่ที่เดียว

“ขมิ้นชัน” (Turmeric) สมุนไพรที่คนไทยรู้จักดี

“ขมิ้นชัน” (Turmeric) สมุนไพรที่คนไทยรู้จักดี มีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ในขมิ้นชัน มีสารเคอร์คูมินอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการอักเสบ และลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ขับพิษที่สะสมในตับ รักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้ เช่น โรคผื่นคัน กลาก เกลื้อน ผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้ แก้อาการท้องร่วง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียดแน่น ป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์ ชะลอวัย ป้องกันโรคข้อเข่าอักเสบ ช่วยปรับสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

ทำไมสมุนไพรบางชนิดต้องใช้แอลกอฮอล์ในสกัด ?

เมื่อได้ยินคำว่า “ใช้แอลกอฮอล์” สกัดสมุนไพร ก็อาจทำให้หลายๆ คนเกิดข้อสงสัยว่าทำไมต้องใช้แอลกอฮอล์ในการสกัดสมุนไพรด้วย..? วันนี้ เราหาคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ สารสําคัญในพืชสมุนไพร เป็นสารประกอบที่บ่งบอกความเฉพาะตัวของสมุนไพรซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยละลายได้ในตัวทําละลายที่ต่างกัน บางชนิดอาจจะละลายได้ในตัวทําละลายเพียงอย่างเดียว  หรือบางชนิดละลายได้ในตัวทําละลายหลายชนิด ซึ่งสารบางชนิดมีขั้วจึงสามารถละลายน้ำได้ สารบางชนิดเป็นสารกึ่งมีขั้วจึงสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และสารบางชนิดเป็นสารไม่มีขั้วทําให้ไม่สามารถละลายน้ำได้แต่ละลายได้ดีในตัวทําละลายสารอินทรีย์ ดังนั้นในการสกัดสารเราจะต้องทราบว่าสารนั้นมีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อที่จะได้เลือกวิธีและตัวทําละลายที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อจะใช้ในการสกัดต่อไปนั้นเอง   ยกตัวอย่าง – ในขิงจะมีทั้งสารที่มีสีและสารที่มีกลิ่น โดยสารที่มีสีจะละลายในแอลกอฮอล์ได้ดีกว่าในน้ำ แต่สารที่มีกลิ่นจะละลายในน้ำได้ดีกว่าในแอลกอฮอล์ ดังนั้นถ้าจะแยกสารที่มีสีออกจากขิงควรเลือกแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย แต่ถ้าจะแยกสารที่มีกลิ่นออกจากขิงควรเลือกน้ำเป็นตัวทําละลาย – น้ำสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ถ้าใช้ตัวทําละลายที่ผสมน้ำและแอลกอฮอล์เข้าด้วยกัน สารที่สกัดที่ได้จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน – น้ำเป็นตัวทําละลายที่ถูกนํามาใช้สกัดสารสีต่างๆ จากพืช เช่น สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากกระเจี๊ยบ สีน้ำเงินจากอัญชัน เป็นต้น   สรุป การสกัดสารจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเลือกตัวทําละลายที่เหมาะสมเนื่องจากสารประกอบในพืชมีมากมายหลายชนิด และมีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเลือกใช้ตัวทําละลายเดียวที่จะสกัดได้สารทุกกลุ่มที่ต้องการนั้นจึงทําได้ยาก ดังนั้นการเลือกตัวทําละลายที่ถูกต้องและเหมาะสมคือ ดูว่าสารสําคัญที่มีอยู่ในพืชที่เราจะสกัดสามารถละลายได้ในตัวทําละลายใด เราก็ใช้ตัวทําละลายนั้นมาใช้สกัด เพื่อผลลัพธ์และคุณภาพที่ดีที่สุดของเราค่ะ

สกัดสมุนไพรแต่ละครั้ง ต้องใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือกวัตถุดิบ ?

การจะนำสมุนไพรมาสกัดในแต่ละครั้ง ทาง NAP ได้มีเกณฑ์ต่างๆ ในการคัดเลือกวัตถุดิบเพื่อคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค ทีนี่เรามาดูกันว่าต้องมีเกณฑ์อะไรบ้าง 1. คุณลักษณะจําเพาะทางกายภาพของสมุนไพร ตรวจสอบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยต้องใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น ที่จะบอกลักษณะของสมุนไพรอย่างหยาบๆได้ เช่น รูปร่างขนาด สี กลิ่นและรส 2. การตรวจสอบสิ่งปลอมปน คือสิ่งอื่นๆ ที่ปลอมปนมาจากพืชโดยที่เราไม่ได้ต้องการใช้ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย และสมมติว่าเราต้องการใช้แค่ใบ แต่มีกิ่งก้านปนมาด้วย อันนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งปลอมปนได้เหมือนกันนั้นเอง 3. ปริมาณความชื้น โดยทั่วไปสมุนไพรควรมีความชื้นไม่เกิน 10% สมุนไพรที่มีความชื้นมากเกินไป ตัวสมุนไพรจจะมีกลิ่นอับและทําให้เชื้อจุลินทรีย์เติบโตได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสารสําคัญไปด้วย 4. ปริมาณสารสําคัญ การเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและปริมาณสารออกฤทธิ์สูงมาตั้งแต่แรก เวลาสกัดเราก็จะได้ปริมาณสารสําคัญที่สูงตาม แต่ถ้าได้วัตถุดิบที่มีปริมาณสารสําคัญน้อย เมื่อนำมาสกัดยังไงก็จะได้สารออกฤทธิ์น้อยเช่นกัน 5. การตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทีย์ ถ้าสมุนไพรปราศจากสิ่งปนเปิ้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว และการปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดการสูญเสียสารสําคัญได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสําคัญเลยก็ว่าได้ที่ทําให้สมุนไพรมีคุณภาพต่ำ 6. การตรวจสอบสารตกค้างจากสารกําจัดศัตรูพืช การปนเปื้อนจากสารเหล่านี้อาจมาจากช่วงการปลูกพืชหรือระหว่างการเก็บเกี่ยวนั่นเอง โดยจะมีการกําหนดปริมาณสารตกค้างจากสารกําจัดศัตรูพืชตามเกณฑ์ไม่ให้เกินกว่าที่กําหนด เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้บริโภค 7. การตรวจสอบสารหนูและโลหะหนัก […]

ทานกระท่อมแบบนี้ สุขภาพเสียแน่นอน

ทานกระท่อมแบบนี้ สุขภาพเสียแน่นอน

ถึงแม้กระท่อมจะมีสารช่วยออกฤทธิ์ในการช่วยให้ร่างกายมีพละกำลัง ตื่นตัว ไม่เพลียก็จริง แต่เนื่องจากการบริโภคกระท่อมนั้นมีหลากหลายรูปแบบวิธี จึงทำให้มีผู้คนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการใช้กระท่อมนั่นเอง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูวิธีป้องหรือข้อห้ามในการใช้กระท่อมกันค่ะ เคี้ยว หากจะเคี้ยวใบกระท่อมควรดึงก้านออกก่อน และไม่ควรเผลอกลืนกากใบหรือเศษลงไปในกระเพาะ เพราะอาจก่อนให้เกิดการตกค้าง หรือเป็นโรคถุงท่อมได้ ไม่ควรกินเกินวันละ 2-3 ใบ หากรับประทานหรือเคี้ยวใบมากกว่า 2-3 ใบขึ้นไป อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ เช่น จิตหลอน ใจหนาวสั่น วิตกกังวล เป็นต้น ต้มดื่ม วิธีนี้อาจดูเป็นวิธีเบสิคมากๆ แต่รู้หรือไม่ว่ามีผู้คนส่วนใหญ่ได้รับปัญหาจากวิธีการต้ม เพราะเกิดจากการใช้ผ้ากรองกากไม่มีความละเอียดมากพอในการกรองเศษ รวมไปถึงการใช้ใบต้นมากเกินอัตราส่วนของน้ำที่ต้ม จึงแนะนำให้ควรมีผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดปริมาณทุกครั้งขณะที่ต้ม หรือหากใครชอบดื่มน้ำท่อม อาจเปลี่ยนวิธีโดยการซื้อแบบสำเร็จรูปมาผสมดื่มแทน เพื่อความปลอดภัยจากโรคถุงท่อมและโอเวอร์โดส เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราควรทานกระท่อมกันอย่างระมัดระวัง และศึกษาทุกครั้งก่อนใช้นะคะ

ไขความลับสารสกัดขมิ้นชันของ NAP

ทำไม สารสกัดขมิ้นชัน ของ NAP ถึงได้รับความนิยมในท้องตลาดภาคอุตสาหกรรม นั่นก็เป็นเพราะเราใส่ใจคุณภาพตั้งแต่การคัดเลือกขมิ้นชันที่เป็นวัตถุดิบโดยมีเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรฐานของแน็พ ไบโอเทค พวกเราให้ความสำคัญทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน รวมไปถึงถุงบรรจุภัณฑ์ที่เราได้มีการดีไซน์ออกแบบเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะ จึงโดดเด่นและจดจำง่าย ที่สำคัญ NAP ยังมีเครื่องจักรที่ทันสมัยและครบครันที่สุดในแวดวงโรงงานสมุนไพร  จึงทำให้สารสกัดขมิ้นชันของ NAP นั้นไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ถ้าหากคุณกำลังมองหาสารสกัดสมุนไพรที่มีมาตรฐานและคุณภาพระดับต้น ๆ ของประเทศแล้วล่ะก็ สามารถติดต่อสอบถามได้เลย คลิก เราพร้อมเป็นเบื้องหลังในความสำเร็จของธุรกิจคุณ

อุณหภูมิส่งผลต่ออายุสารสกัดสมุนไพรหรือไม่

หลายคนมักสงสัยว่าอุณหภูมิมีผลต่ออายุของสารสกัดหรือไม่ คำตอบก็คือมีผลนั้นเอง เพราะเมื่อสารสกัดถูกจัดเก็บหรืออยู่ในสภาวะการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มามีอายุการเก็บรักษาหรืออายุการวางจำหน่ายที่สั้นลง และไม่ใช่แค่อุณหภูมิที่มีผลเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ร่วมด้วย ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อคุณภาพ และความคงตัวของสารสกัดนั้นคือ แสงแดด ความชื้น และอุณหภูมิ แสงแดด สารสำคัญในสารสกัดส่วนใหญ่เมื่อเจอแสงจะทำให้สารสำคัญนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความร้อน ส่งผลให้สารเสื่อมคุณภาพและมีปริมาณลดลงได้ ความชื้น ความชื้นจะทำให้สารสกัดเกิดเชื้อราและการเน่าเสียได้ ดังนั้นสเปคของตัวผลิตภัณฑ์เองในกระบวนการผลิตทาง QC ก็จะมีการกำหนดคุณภาพไว้ว่าความชื้นของสารสกัดไม่ควรเกิน 5% เพราะถ้าความชื้นสูงมากกว่านี้ก็มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่ผลิตภัณฑ์ล๊อตนั้นจะเสื่อมหรือเสีย อุณหภูมิ ปกติการเก็บสารสกัดในอุณหภูมิต่ำหรือเย็นจะยิ่งส่งผลดี เหมือนคำกล่าวที่ว่ายิ่งแห้ง ยิ่งเย็น ยิ่งดี ถึงแม้จะมีค่าใช่จ่ายที่สูงขึ้นแต่ต้องแลกกับคุณภาพของสารสกัดที่ดี และบางผลิตภัณฑ์ก็สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ แต่ต้องมีอากาศถ่ายเทไม่ร้อน เนื่องจากถ้าอุณหูมิสูงก็จะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณสารสำคัญเราได้นั่นเอง